วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิกการรีโมทเครื่อง






พิม mstsc /admin กรณี pack2

พิม mstsc /console กรณีต่ำกว่า pack2

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีแก้ msn error

เลข 80048820
- เทียบ ErrorCode ว่าตรงกับอันไหนแล้วดูวิธีแก้ด้านล่างคับ

สาเหตุที่เกิด โดยดูจาก Errorcode
ErrorCode : 800b001
- สาเหตุ: เกิดจาก MSN หาไฟล์พวก .dll บางตัวไม่เจอ ทำให้ไม่สามารถ sign in ได้
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 3 คับ

ErrorCode : 80048820
- สาเหตุ: เกิดจากวันที่ของเครื่องไม่ถูกต้อง
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 3 คับ หรือตั้งวันที่ใหม่ครับ

ErrorCode : 80072ee7
- สาเหตุ: เกิดจากปัญหาของ Firewall หรือการติดต่อออกอินเตอร์เน็ต มีปัญหา

- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 และ 2 คับ

ErrorCode : 80072eff , 80070193 , 800701f7
- สาเหตุ: เป็นปัญหาจาก .NET Messenger Service มีปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดจากตัว .Net server
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 และ 4 คับ

ErrorCode : 80072efd
- สาเหตุ: ปัญหานี้เกิดจาก ในส่วนของ windows update
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 3 และ 5 คับ

ErrorCode : 80072f0d
- สาเหตุ: เกิดจากที่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ security ของ MSN ไม่ทำงาน
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 3 และ 6 คับ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มข้อ 10 ด้วยคับ

ErrorCode : 80070190
- สาเหตุ: เกิดจากปัญหาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 4 และ 3 คับ

ErrorCode : 80070301
- สาเหตุ: เกิดจากปัญหา ของ .NET Messenger Service
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 4 , 7 และ 8 คับ

ErrorCode : 81000303 หรือ " Microsoft .NET Passport has made your account temporarily unavailable to help prevent other users from guessing or obtaining your password."
- สาเหตุ: เกิดจากปัญหา ของ .NET Messenger Service หรือ รหัสผ่านผิด
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 3 ,4 และ 7 คับ
ErrorCode : 81000306
- สาเหตุ: เกิดจากปัญหา ของ .NET Messenger Service หรือ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- วิธีแก้: แก้ตามวิธีแก้ที่ 1 , 2 , 4 และ 8 คับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีแก้
1. ตรวจเช็ค Internet ว่า Connect อยู่หรือป่าว...
2. ปิด Firewall ทั้งของ Windows , Router และโปรแกรม Antivirus ต่างๆ
3. Register DLL files และตั้งวันที่ใหม่ โดยใช้ไฟล์นี้คับ http://rcweb.net/forums/attachment.p...1&d=1131572132
4. เช็ค .Net Messenger Service server อาจมีปัญหา ลองคลิ๊กที่นี่เพื่อตรวจสอบ http://messenger.msn.com/Status.aspx ว่า Server รันอยู่หรือป่าว
5. Internet Explorer ต้องสนับสนุน การเข้ารหัสแบบ 128 bit ให้ตรวจสอบ โดยดูได้ด้วยการคลิกเมนู Help->About ใน IE
ถ้าไม่ใช่แนะนำให้ลง IE6 ใหม่อีกรอบคับ
6. เปิด Internet Explorer ไปที่เมนู Options -> Internet Options.. -> Advancd แล้วดูที่หัวข้อ use SSL 2.0 และ use SSL 3.0 ให้ติ๊กถูกทั้ง 2 อัน
7. ให้ตรวจสอบ user name และ password ให้แน่ใจด้วยการกรอกใหม่อีกครั้งระวังตัวพิมพ์เล็กและใหญ่ด้วยนะคับ
8. ไปที่ Start -> Run พิมพ์ %appdata%\microsoft กด Enter และลบโฟล์เดอร์ชื่อ MSN Messenger (Emo และ DP ที่เพิ่มเข้าไปจะหายไปหมด)
9. อาจถูกบล็อคการใช้งานจากผู้ดูแลระบบ ลองติดต่อ admin คับ
10. ไปที่ Start -> Run พิมพ์ regsvr32 initpki.dll กด Enter แล้วรอครับอาจจะนานหน่อยเป็น 10 นาที...

ที่มา : www.thaiware.com , google.com

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Ubuntu_Server_Installation_GUI

# aptitude update
# aptitude dist - upgrade
# aptitude install update - manager
# aptitude install gnome-core xorg
# aptitude install language-pack-gnome-th-base language-pack-gnome-th language- support-th language-support-extra-th
# aptitude install gnome-nettol gnome-network-admin gnome-system-tools
# aptitude install gnome=themes gnome-themes-extras firefox

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Data Communications

สิ่งควรรู้การสื่อสารข้อมูล(Data Communications)
1.BUAD RATE คืออะไร แตกต่างจาก BIT RATE อย่างไร ?
- Buad Rate เปรียบเสมือนจำนวนรถบรรทุกสินค้าที่ขนสินค้าที่เป็น bit ไปส่งยังปลายทาง
- Bit Rate เปรียบเหมือนสินค้าในรถบรรทุกทั้งหมดที่ถูกขนไปยังปลายทาง
- buad rate คือจำนวนสัญญาณที่จะพาข้อมูลไปยังปลายทางใน 1 วินาที และ bit rate คือจำนวน bit ทั้งหมดที่ถูกส่งไปยังปลายทางได้ใน 1 วินาที ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่า buad rate
2. BANDWIDTH คืออะไร ?
Bandwidth คือ ช่วงกว้างของการตอบสนองต่อความถี่ในการสื่อสารผ่านสื่อสัญญาณ หรือช่วงของความถี่ต่ำสุดและสูงสุดที่สื่อนำสัญญาณสามารถทำงานได้ มีหน่วยเป็น Hertz
3. SIGNAL ATTENUATION คือ
Signal Attenuation คือสัญญาณที่ส่งออกมาต้องเสียพลังงานส่วนหนึ่งในการเดินทางผ่านสื่อนำสัญญาณ ทำให้สัญญาณนั้นลดความเข้มลง หรือเบาบางลง หรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม ด้วยสาเหตุต่างๆ มีหน่วยเป็น เดซิเบลต่อกิโลเมตร
4.ข้อดีของการส่งสัญญาณในระบบ digital (digital transmission)
- ค่าใช้จ่ายต่ำ;เพราะมีเทคโนโลยี LSI/VLSI ซึ่งทำให้อุปกรณ์ digital มีราคาถูกลง
- ความมั่นคงของข้อมูล; ทนต่อสัญญาณรบกวน, และส่งไปไกลได้โดยสัญญาณไม่อ่อนลง
- มีคุณภาพสูง ;มี bandwidth สูงและประหยัด , multiplexing ได้ง่ายโดยใช้ digital technology
- ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ;มีการเข้ารหัสข้อมูล
- สามารถแปลงสัญญาณ analog ส่งร่วมไปกับสัญญาณ digital ได้ในช่องทางสัญญาณเดียวกัน
5.ความแตกต่างระหว่าง boardband system และ baseband system (ยกตัวอย่างในแต่ละระบบ)คือ
- Boardband การส่งสัญญาณผ่านสื่อผ่าน Modulation เป็นคลื่นพาหะ ความเร็วต่ำ ระยะทางไกล ระบบที่ใช้งานส่วนใหญ่ใช้งานในระบบ WAN เชื่อมวง LAN เข้าด้วยกัน
- Baseband การส่งสัญญาณผ่านสื่อผ่าน voltage pulses ระดับ bit ความเร็วสูงกว่า ระยะทางใกล้ ระบบที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานในระบบ LAN
6.ทำไม LAN ยุคใหม่ จึงใช้การเชื่อมต่อแบบ star topology
- มีความเสถียรของระบบสูง ขยายระบบได้ เพิ่มจุดสถานีงานได้ง่าย และความเร็วเหมาะสม รองรับโปรโตคอลที่เป็นที่นิยมของตลาด ราคาก็ไม่สูงมากนัก
7. bit stuffing มีความจำเป็นอย่างไร
- ในการส่งข้อมูลแบบ Synchronous นั้นจะใช้ flag เพื่อเป็นการบอกจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของ frame โดยจะมีค่า เท่ากับ 01111110 ซึ่งอาจมีข้อมูลที่รูปแบบซ้ำกับ flag จึงแทรก bit stuffing เพื่อเปลี่ยนข้อมูลไม่ให้ซ้ำกับ flag โดยจะทำการแทรก 0 เข้าไปเมื่อพบ 1 เรียงกัน 5 ตัว
8. การควบคุมความผิดพลาด (error control) ของ Go-back-N*
- เป็นการควบคุมความผิดพลาดโดยมีพื้นฐานจาก Sliding window โดยการทำงานไม่เกิด error ทางฝั่งรับจะทำการส่งสัญญาณ ACK บอกทางต้นทางพร้อมรับเฟรมถัดไป แต่หากเกิด error ขึ้นทางฝั่งรับจะส่งสัญญาณ rejection บอกเฟรมที่ไม่ได้รับให้ทางต้นทางส่งข้อมูลตั้งแต่เฟรมนั้นมาให้ใหม่ และถ้าต้นทางไม่ได้รับ ACK จากฝั่งรับจนถึงช่วง Timeout ก็จะส่งเฟรมที่มี P bit 1 เพื่อสอบถามสถานะของทางฝั่งรับ
9.เหตุใด sliding window protocols จึงมีประสิทธิภาพมากกว่า stop-and-wait เมื่อใช้ในการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ***
- sliding ส่งข้อมูลได้หลายๆ เฟรมแล้วคอยตรวจสอบ ACK แต่ Stop-and-wait ที่ต้องรอ ACK ก่อน จึงส่งเฟรมต่อไปได้ หากระยะทางไกล เวลาในการส่งถึงตัวรับบวกกับเวลารอ ACK ก็มาก นอกจากนั้น sliding window ยังแก้ปัญหาเฟรมข้อมูลผิดพลาด, เฟรมสูญหาย และการเกิด Time-out เร็วกว่ากำหนดได้ดีกว่า ซึ่งระยะทางไกลก็ยิ่งมีมากขึ้น
10.ความแตกต่างระหว่างช่องสัญญาณที่เป็น simplex half-duplex และ duplex
- Simplex จะส่งสัญญาณได้ทางเดียวเท่านั้น คือตัวรับรอข้อมูลจากตัวส่ง
- Half –Duplex จะส่งสัญญาณได้ทั้งสองสถานี แต่ต้องผลัดกันส่ง
- Duplex ส่งข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งตัวรับและตัวส่ง
11.วัตถุประสงค์หลักของการมี headers สำหรับ protocols ที่ใช้ในการสื่อสาร
- ผู้ส่งจะเพิ่มข้อมูลส่วนหัวจากชั้นบนลงไปชั้นล่างเพื่อให้ผู้รับทราบว่ากระแสข้อมูลที่รับเข้ามาส่วนใดเป็นของชั้นใดทำให้การแยกข้อมูลของผู้รับเป็นไปด้วยความถูกต้อง ช่วยให้การทำงานในแต่ละชั้นเป็นอิสระต่อกัน
12.ความหมายของ bit, character และ message synchronization
- bit คือข้อมูลแบบดิจิตอลที่มี 2 สภาวะคือ ต่ำกับสูง หรือ 1 กับ 0
- Character คือข้อมูลที่เป็นตัวอักษร เช่น A,B,C… เป็นต้น ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลหลายๆ bit
- Message synchronization คือการประสานกันระหว่างตัวรับและตัวส่งให้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้องตรงตามข้อมูลจากผู้ส่งโดยข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายๆ character
13.หน้าที่ของโปรโตคอลในแต่ละ layer ของ OSI model (บอกด้วยว่าชั้นใดเป็น end-to-end)
- Application ชั้นบริการโปรแกรมประยุกต์ ของผู้ใช้ เพื่อติดต่อกับเครือข่าย
- Presentation ชั้นนำเสนอข้อมูล แปลงรูปแบบ เข้ารหัส บีบอัดข้อมูล
- Session ชั้นควบคุมการสื่อสาร ก่อตั้ง บริหาร และยกเลิก การติดต่อ
- Transport ชั้นจัดการนำส่งข้อมูล ระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านช่องสัญญาณเสมือนหรือแบบ end-to-end โดยรับประกันความถูกต้อง
- Network ชั้นควบคุมเครือข่าย ติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างโนด กำหนดเส้นทาง ในเครือข่าย
- Data Link ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล เปลี่ยนสายบิตเป็นเฟรม จัดการทีอยู่ ต้นทางปลายทาง ควบคุมการลำเลียงข้อมูล ควบคุมerror ควบคุมการใช้งาน link
- Physical ชั้นสื่อสารกายภาพ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทางไฟฟ้าระดับบิต
14.traffic ประเภทที่เหมาะสำหรับการใช้ connection-oriented protocol
- การถ่ายทอดข้อมูลปริมาณมากที่ต้องการให้เสร็จในครั้งเดียว เช่นส่งแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่าย
- การสื่อสารที่ ต้องการความน่าเชื่อถือ เช่น Remote Login
- การสื่อสารที่การเชื่อมต่อไม่น่าเชื่อถือ เช่น Digitized voice
แบบ Connection-less
- การสื่อสารที่เป็นช่วงๆ เช่น e-mail
- การสื่อสารที่ใช้สัญญาณตอบรับ เช่น จดหมายลงทะเบียน
- การสื่อสารที่มีการถามตอบ เช่น client-server
15. multiplexer จึงจำเป็นในระบบสื่อสาร เพราะ
- ง่าย ไม่ต้องยุ่งยากในการลากสายสัญญาณไปไกลๆตรวจสอบได้ยากหากมีเส้นใดขาด
- คุ้มค่า เพื่อใช้สายสื่อสารที่มี capacity สูง ร่วมกัน เต็มประสิทธิภาพ
- หลากหลายและขยายได้ สามารถเพิ่มช่องสัญญาณได้ง่ายเพิ่มประเภทของสัญญาณได้
16.หัวข้อที่ต้องคำนึงถึงในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกัน เข้าด้วยกัน (interconnecting heterogeneous networks)
- โปรโตคอล คือกฎระเบียบในการติดต่อสื่อสารที่ใช้ร่วมกันได้
- มีมาตรฐานทางด้าน hardware ร่วมกัน คือ ความเข้ากันได้ทางกายภาพเช่น อุปกรณ์ของเครือข่าย
17.ความแตกต่างระหว่าง TCP และ UDP
- TCP เป็นโปรโตคอลแบบ CONNECTION-ORIENTED ใช้รับส่งข้อมูลที่ต้องการความถูกต้องมีความสำคัญ และรับประกันการรับ-ส่งข้อมูลว่าข้อมูลจะถูกส่งถึงปลายทางเสมอมักใช้ในการรับส่งข้อมูลที่มีความสำคัญ
- UDP เป็นโปรโตคอลแบบ CONNECTIONLESS ที่ต้องการความรวดเร็ว มีขนาดไม่ใหญ่ ข้อดีคือ Overhead น้อย และให้ความรวดเร็วในการส่ง จะใช้กับข้อมูลที่ไม่ค่อยสำคัญ เช่น การ Request ของ DNS
18. ข้อแตกต่างระหว่าง network layer (และ layer ต่ำกว่า) และ transport layer (และ layer สูงกว่า)
- Transport ไม่คำนึงถึงลักษณะแอปพลิเคชั่นที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ,ไม่ขึ้นอยู่กับเครือข่ายที่ใช้
- Network layer แอปพลิเคชั่นขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่าย ,ติดต่อผ่านเครือข่าย ต้องหาเส้นทาง
19.STP และ UTP ต่างก็เกิด attenuation ได้เช่นเดียวกัน แต่ STP สามารถให้ data rate ที่สูงกว่า เพราะ
- เนื่องจาก STP เป็นสายที่มีชิลด์จะป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า UTP attenuation จึงต่ำกว่า Data rate ก็จะสูงกว่าเมื่อสัญญาณรบกวนน้อยกว่า
20.ระบบที่ใช้ STP มีประสิทธิภาพมากกว่า UTP แต่ทำไมถึงไม่มีการใช้ STP แทนที่ UTP เพราะ
- เนื่องจาก STP มีราคาสูงกว่า และ UTP ก็มีคุณสมบัติเพียงพอกับการใช้งานทั่วๆไป จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อสิ่งที่ไม่ต้องการ อีกทั้งการใช้งานก็ยุ่งยากมากว่า
21.Intersymbol Interference (ISI) จำกัดอัตราในการส่งข้อมูลของช่องสัญญาณได้ คือ
- เมื่อเฟรมสัญญาณส่งผ่านช่องสื่อสารซึ่งจะเกิดการ echo ขึ้นในสัญญาณ ทำให้ตัวรับได้สัญญาณที่มีการ overlapระหว่าง timeslot ทำให้ ข้อมูลผิดพลาด เป็นผลให้จำกัดอัตราการส่งข้อมูลในช่องสัญญาณเนื่องจากต้องส่งข้อมูลใหม่อีกเฟรมหรือหลายเฟรม
- แก้ไขโดยการใช้ inverse system ที่ เป็นตัว equalizer ทำให้ ISI ถูกตัดทิ้งไป

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร


ไวรัสคอมพิวเตอร์คือ
________________________________________

โปรแกรมที่สามารถ"ติดต่อ"กับ โปรแกรมอื่นได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมเหล่านั้น ให้รวมตัวของไวรัสเข้าไปด้วย นั่นคือไวรัสทุกตัวสามารถ copy ตัวมันเองได้ ไวรัสส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยง การตรวจจับด้วยการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่มันติดต่อ
ไวรัสที่เราควรจะต้องระวังคือ ไวรัสชนิดที่มีความสามารถ อย่างอื่นนอกเหนือไปจากการ copy ตัวเองประมาณ 5% ของไวรัสทั้งหมด สามารถขัดขวางการทำงานตามปกติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถเหล่านี้อาจจะเป็นเพียง ข้อความปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ทำลาย ข้อมูลทั้ง hard disk ซึ่งตามปกติแล้วไวรัสใช้นาฬิกาของ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวบอกว่าเมื่อไหร่ตัวไวรัสเองจะทำงาน
เคยมีกรณีที่โปรแกรมเมอร์บางคนซ่อนคำสั่งไว้กับโปรแกรม ที่แจกจ่ายไปโดยเฉพาะบน internet เมื่อเรา run โปรแกรม คำสั่งที่ซ่อนอยู่ก็จะเริ่มทำงานด้วยการเข้าโค้ด ข้อมูลบน hard disk ทำให้เราไม่สามารถอ่านข้อมูลหรือ run โปรแกรมบน hard disk ได้อีก ทางเดียวที่จะสามารถ อ่านข้อมูลบน hard disk ได้อีกคือ จ่ายเงินให้โปรแกรมเมอร์ คนนั้นเพื่อบอกวิธีคลายโค้ดบน hard disk โปรแกรมเหล่านี้ ไม่อาจนับเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ได้หากมันไม่สามารถ copy ตัวมันเองได้ และไม่สามารถติดต่อได้
คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ run คำสั่งทีละคำสั่ง แต่ใน ปัจจุบันคำสั่งหลายๆคำสั่งสามารถ run พร้อมๆกันได้ บางครั้งโปรแกรมเหล่านี้ทำงานนอกเหนือขอบเขต ของตนเองที่กำหนดไว้ตอนเขียนโปรแกรม การทำงาน นอกขอบเขตของโปรแกรมจะทำลายข้อมูลของเครื่อง คอมพิวเตอร์และความเสียหายจะเกิดขึ้นที่หน่วยความจำซึ่ง มีลักษณะที่เรียกว่า wormholes และตัวที่ทำให้เกิด wormholes นี้เรียกว่า worms

ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามวิธีการ ติดต่อคือ boot sector viruses, program viruses และ macro viruses
1. boot sector viruses จะ copy ตัวมันเองลงบน แผ่น diskette และลงบน boot sector ของ hard disk (boot sector คือตำแหน่งที่เก็บคำสั่งที่ จำเป็นต้องใช้เวลาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) เมื่อเราเปิด หรือ reboot เครื่องคอมพิวเตอร์ boot sector viruses ติดต่อได้เพียงจากแผ่น diskette เท่านั้น แต่จะไม่ ติดต่อเวลาใช้ไฟล์หรือโปรแกรมร่วมกัน ทุกวันนี้ boot sector viruses ไม่แพร่หลายเหมือนแต่ก่อน เพราะ ส่วนมากเดี๋ยวนี้เราจะ boot เครื่อง คอมพิวเตอร์จาก hard disk เสียเป็นส่วนใหญ่
2. program viruses จะติดต่อกับ executable files ซึ่งได้แก่ไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .COM หรือ .EXE และยัง สามารถติดต่อไปยังไฟล์อื่นๆซึ่งโปรแกรมที่ลง ท้ายด้วย .COM หรือ .EXE เรียกใช้ ไฟล์เหล่านี้ได้แก่ ไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .SYS, .DLL, .BIN เป็นต้น
3. macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็น ต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุกๆเอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้น จะเกิดความเสียหายขึ้น สิ่งสำคัญที่พึงระลึกไว้ก็คือว่า ไวรัสจะทำงาน ก็ต่อเมื่อเรา run โปรแกรมที่ติดไวรัสนั้น แต่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ติดไวรัสในกรณีดังต่อไปนี้

1. เปิดอ่าน e-mail เพียงเปิดอ่าน e-mail ไม่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ติดไวรัสได้ อย่างไรก็ตามถ้า e-mail นั้นมีเอกสาร หรือไฟล์ติดมาด้วย (ดูที่ attachments) เครื่อง คอมพิวเตอร์อาจจะติดไวรัสได้ถ้าหากว่าเอกสารหรือ ไฟล์มีไวรัสอยู่ ดังนั้นถ้ามีเอกสารหรือไฟล์ส่งมา พร้อมกับ e-mail ควรจะ scan หาไวรัส ก่อนที่จะเปิดเอกสารขึ้นอ่าน หรือ run ไฟล์นั้น
2. อ่าน web pages มี bugs ใน Internet Explorer ของ Micrsoft อย่างนึงคือ ถ้าคุณไม่ใช้ security function ซึ่ง เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของ Internet Explorer โปรแกรม ActiveX Control บางโปรแกรมสามารถ จัดไฟล์ ; หรือค้นหาข้อมูลบน hard disk ของคุณ อย่างไรก็ตามนี่ไม่อาจนับเป็นไวรัสได้
3. download ไฟล์จาก internet การ download ไฟล์จาก internet ไม่ทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะติดไวรัสถ้าไฟล์ที่คุณ download มามีไวรัส และคุณ run ไฟล์หรือโปรแกรมนั้น ทางที่ดีควรจะ scan หาไวรัสจากทุกไฟล์ที่คุณ download มีหลายครั้งที่สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ และเราคิดว่าเป็นเพราะไวรัสแต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ สิ่งผิดปกติเหล่านี้ได้แก่ bugs ของตัว โปรแกรมเอง, ความผิดปกติของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ การเตือนที่ผิดพลาดของโปรแกรมตรวจจับไวรัส bugs ของตัวโปรแกรมเกิดจากความผิดพลาดของ โปรแกรมเมอร์ และจะเกิดมากเป็นพิเศษกับโปรแกรม ที่แจกจ่ายมา (โดยเฉพาะบน internet) เพื่อทำการทดสอบก่อนที่จะวางจำหน่าย โปรแกรม เหล่านี้อาจจะถูกตั้งชื่อเป็น prerelease, alpha version หรือ beta version เป็นต้น
4. ความผิดปกติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับตัว คอมพิวเตอร์ hardware เอง หรือตัวโปรแกรม ซึ่งใช้เป็น device driver สำหรับ hardware นั้น บางครั้งที่เราใช้โปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำ มากกว่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ หรือโปรแกรม ที่ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง อาจ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ หรือไม่ ทำงานเลยก็ได้
5. โปรแกรมที่ใช้ตรวจจับไวรัส ส่วนมาก จะคอยตรวจ ความผิดปกติของ executable files (ไฟล์ที่ ลงท้ายด้วย .COM หรือ .EXE และไฟล์อื่นๆที่ เกี่ยวข้องในการทำงานอย่างเช่นไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .DLL เป็นต้น) อย่างเช่น ขนาดของไฟล์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่โปรแกรมตรวจจับไวรัส คิดว่าเป็นไวรัส อาจจะไม่ใช่ไวรัสเสมอไปถ้าโปรแกรม ตรวจจับไวรัสไม่สามารถบอกได้ว่าไวรัสตัวนั้นคืออะไร
6. วิธีในการป้องกันไวรัส แม้ว่าจะมีไวรัสหลายพันชนิด แต่ไวรัสส่วนใหญ่อยู่ใน ห้องทดลองคอมพิวเตอร์ มีไวรัสเพียงประมาณ 500 กว่าชนิดที่ยังอาละวาดอยู่ และส่วนใหญ่ไวรัสเหล่านี้ แทบจะไม่มีอันตรายต่อคอมพิวเตอร์และข้อมูล เพียงแต่ อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงด้วยการ แย่งใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีวิธีง่ายๆ 6 วิธีที่จะช่วยป้องกันเครื่อง คอมพิวเตอร์และข้อมูลจากไวรัส
ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (anti-virus) อย่างไรก็ตามไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส โปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ การเตือนที่ผิดพลาดว่า มีไวรัสก่อให้เกิดความรำคาญพอๆกับตัวไวรัสเอง อย่าลืมว่าจะต้อง update โปรแกรมที่ใช้ตรวจจับ และ

กำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึง ไวรัสชนิดใหม่ๆ
1. scan ทุกไฟล์บนดิสเกตต์และ CD-ROM ก่อน นำลง hard disk
2. scan ทุกไฟล์ที่ download มาจาก internet
3. scan ไฟล์หรือโปรแกรมที่ติดมากับ e-mail ก่อน ที่จะเปิดอ่านหรือเก็บลงบน hard disk
4. เก็บเอกสารในรูปของ ASCII Text Mode หรือ Rich Text Format (RTF) โดยเฉพาะเอกสารที่ใช้ ร่วมกันบน network ทั้งสอง format จะไม่ save ส่วนที่เป็น macro ลงพร้อมกับเอกสารด้วยซึ่งทำให้ ปลอดภัยจาก macro viruses
5. back up ข้อมูลและโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญอย่าเก็บ back up ไว้ใน hard disk อันเดียวกันกับข้อมูลและโปรแกรมจริง
จะกำจัดไวรัสได้อย่างไร ; โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (anti-virus) ส่วนมากจะ scan หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่เปิดเครื่องและควรจะเตือนเมื่อเราเปิดไฟล์ หรือ run โปรแกรมที่มีไวรัส หากโปรแกรม anti-virus พบ ไวรัส มักจะถามว่าจะให้กำจัดไวรัสหรือไม่ หากไม่สามารถ กำจัดไวรัสได้โปรแกรมจะถามว่าต้องการให้ลบไฟล์ หรือ โปรแกรมที่ติดไวรัสทิ้งหรือไม่ และนี่คือความจำเป็นที่เรา จะต้องมี back up หากไฟล์หรือโปรแกรมติดไวรัส และไม่ สามารถกำจัดได้ จนต้องลบทิ้ง

เราควรจะทำอย่างไร หากพบไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ใจเย็นๆ ไวรัสอาจจะยังไม่ทำลายข้อมูลใดๆก็ได้ แต่หากคุณใจร้อน คุณอาจจะเป็นคนทำลายข้อมูลเสียเอง
2. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และ boot เครื่องใหม่ด้วย แผ่นดิสเกตต์ที่ไม่มีไวรัส
3. ค้นหา และกำจัดไวรัสด้วยโปรแกรม anti-virus หากจำเป็นอาจจะต้องลบไฟล์ที่ติดไวรัสทิ้ง และแทนที่ ด้วยไฟล์เดียวกันที่ back up ไว้ก่อนหน้านี้
4. scan ทุกไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
5. ถ้าไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ เห็นทีว่าจะต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ หรือโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากบริษัทที่คุณซื้อคอมพิวเตอร์
(ที่มาwww.jarp.com)

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

ระบบปฏิบัติการ DOS

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
1. DIR (Directory) - คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน) ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Dir - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด Dir /p - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)Dir /w - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน Dir /s, - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย Dir /od - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
2. CLS (Clear Screen) - คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
3. DEL (Delete) - คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Del readme.txt - ลบไฟล์ชื่อ readme.txt Del *.* - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน Del *. - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
4. MD (Make Directory) - คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
5. CD (Change Directory) - คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
6. RD (Remove Directory) - คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
7. REN (Rename) - คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้ [d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B: [path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย [filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์ [.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล

ค้นหา

  
  google พิมพ์ชื่อเว็บหรือไดอารี่ของเรา
Emo Comments For Hi5

'